วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แนวข้อสอบตำรวจสายอำนวยการ 2555 พรบ. ตำรวจแห่งชาติ

ข้อสอบ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ 2547

1.      พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ  2547  มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ก.      ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข.      ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ค.      ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 180 วัน
ง.       วันที่ 14 เม.ย.2547

2.      ประธานกรรมการ”  หมายความว่า
ก.      ประธาน ก.ตร.
ข.      ประธาน ก.ตช.
ค.      ประธานกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
ง.       ประธาน ตร.

3.      กองทุน”  หมายความว่า
ก.      กองทุนเพื่อการสืบสวนคดีอาญา
ข.      กองทุนเพื่อการสอบสวนคดีอาญา
ค.      กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
ง.       กองทุนเพื่อการสืบสวนสอบสวนและป้องกันปาบปรามคดีอาญา

4.      ผู้ใด เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ก.      นายกรัฐมนตรี
ข.      รองนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ค.      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ง.       ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.

5.      การออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้  เป็นอำนาจของ
ก.      นายกรัฐมนตรี
ข.      รองนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ค.      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ง.       คณะรัฐมนตรี

6.      ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก.      สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ในบังคับบัญชาของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ข.      สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี
ค.      สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
ง.       สำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี

7.      สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่กี่ประการ
ก.      ประการ
ข.      ประการ
ค.      ประการ
ง.       ประการ

8.      สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีหน้าที่ส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชน มีส่วนร่วมในกิจการตำรวจเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา รักษาความสงบเรียบร้อยและรักษาความปลอดภัยของประชาชนตามความเหมาะสม และความต้องการของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้ การดำเนินการมีส่วนร่วมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่.........กำหนด
ก.      ก.ต.ช.
ข.      ก.ตร.
ค.      กฎกระทรวง
ง.       พระราชกฤษฎีกา

9.      ข้าราชการตำรวจตำแหน่งใดหรือปฏิบัติหน้าที่ใด จะเป็นข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศให้ตราเป็น
ก.      ก.ต.ช.
ข.      ก.ตร.
ค.      กฎกระทรวง
ง.       พระราชกฤษฎีกา

10.  กรณีที่ ก.ต.ช. เห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่  ก.ต.ช. จะกำหนดให้ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติหน้าที่ตามวันหยุดราชการตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดก็ได้หรือไม่
ก.      ได้  แต่ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
ข.      ได้  ไม่ต้องขออนุมัติผู้ใด
ค.      ไม่ได้  เพราะขัดต่อมติของคณะรัฐมนตรีที่ทุกส่วนราชการต้องถือปฏิบัติตาม
ง.       ไม่ได้  เพราะเป็นการขัดต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ

11.  สำนักงานตำรวจแห่งชาติแบ่งส่วนราชการออกเป็นกี่ส่วน
ก.      2 ส่วน
ข.      3 ส่วน
ค.      4 ส่วน
ง.       5 ส่วน

12.  ตามข้อ 11 มีส่วนราชการอะไรบ้าง
ก.      สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  และ กองบัญชาการ
ข.      สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ , กองบัญชาการ และ กองบังคับการ
ค.      สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ , กองบัญชาการ , กองบังคับการ และ กองกำกับการ
ง.       สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ , กองบัญชาการ กองบังคับการ , กองกำกับการ และ สถานีตำรวจ

13.  การแบ่งส่วนราชการและกำหนดอำนาจหน้าที่ตามข้อ 12 ให้ตราเป็น
ก.      พระราชกำหนด
ข.      พระราชกฤษฎีกา
ค.      กฎกระทรวง
ง.       ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี

14.  การแบ่งส่วนราชการและกำหนดอำนาจหน้าที่ ของกองบังคับการ และ กองกำกับการ ให้ทำเป็น
ก.      พระราชกำหนด
ข.      พระราชกฤษฎีกา
ค.      กฎกระทรวง
ง.       ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี

15.  ผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจในสำนักงานตำรวจแห่งชาติรองจากนายกรัฐมนตรี หมายถึงผู้ใด
ก.      รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย
ข.      รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย
ค.      ผบ.ตร.
ง.       ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.

16.  ผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการรองจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหมายถึงผู้ใด
ก.      รอง ผบ.ตร.
ข.      จเรตำรวจแห่งชาติ
ค.      ผู้ช่วย ผบ.ตร.
ง.       ถูกทุกข้อ

17.  ก.ต.ช. เป็นคำย่อของ
ก.      คณะกรรมการเชิงนโยบายตำรวจแห่งชาติ
ข.      คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
ค.      คณะกรรมการนโยบายและแผนตำรวจแห่งชาติ
ง.       คณะกรรมการนโยบายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

18.  คณะกรรมการ ก.ต.ช. มีกี่ประเภท
ก.      2 ประเภท
ข.      3 ประเภท
ค.      4 ประเภท
ง.       5 ประเภท

19.  บุคคลใด  ไม่ใช่  คณะกรรมการ ก.ต.ช. โดยตำแหน่ง
ก.      นายอารีย์   วงศ์อารยะ
ข.      นายชาญชัย   ลิขิตจิตถะ
ค.      พล.ท.ศิรพงศ์ บุญพัฒน์
ง.       นายประกิจ ประจนปัจจนึก

20.  บุคคลใด  ไม่ใช่  คณะกรรมการ ก.ต.ช. โดยตำแหน่ง
ก.      นายจรัญ ภักดีธนากุล
ข.      นายพงศ์โพยม  วาศภูติ
ค.      พล.ต.อ.โกวิท    วัฒนะ
ง.       พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์   เตมียาเวส

21.  การประกาศรายชื่อ คณะกรรมการ ก.ต.ช. ผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องประการใน
ก.      พระราชกำหนด
ข.      พระราชกฤษฎีกา
ค.      กฎกระทรวง
ง.       ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี

22.  ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการประกาศรายชื่อ คณะกรรมการ ก.ต.ช. ผู้ทรงคุณวุฒิ  คือ
ก.      รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย
ข.      รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย
ค.      ผบ.ตร.
ง.       นายกรัฐมนตรี.

23.  ข้อใด เป็นอำนาจของ ก.ต.ช.
ก.      คัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ข.      คัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติขึ้นไป
ค.      คัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจขึ้นไป
ง.       คัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้บังคับการตำรวจขึ้นไป

24.  ตามข้อ 23  ผู้ใดมีหน้าที่ในการเสนอรายชื่อให้ ก.ต.ช. พิจารณาคัดเลือก
ก.      รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย
ข.      รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย
ค.      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ง.       นายกรัฐมนตรี

25.  ข้อใด เป็น  คุณสมบัติ ของคณะกรรมการ ก.ต.ช. ผู้ทรงคุณวุฒิ
ก.      มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์
ข.      ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือเป็นที่ปรึกษาของข้าราชการการเมืองหรือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
ค.      เลขาธิการพรรคไทยรักไทย
ง.       ถูกทุกข้อ

26.  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี  กี่วาระ
ก.      สามปี และอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
ข.      สี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
ค.      สี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินหนึ่งวาระติดต่อกันไม่ได้
ง.       สี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสามวาระติดต่อกันไม่ได้

27.  นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๒๑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
ก.      อายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
ข.      ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๐
ค.      ก.ต.ช. มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือมีการกระทำ หรือมีคุณลักษณะไม่เหมาะสมต่อการปฏิบัติหน้าที่กรรมการ
ง.       ถูกทุกข้อ

28.  ข้อใดถือเป็น องค์ประชุมของ ก.ต.ช.
ก.      ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
ข.      ต้องมีกรรมการมาประชุมเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
ค.      ต้องมีกรรมการมาประชุมตั้งแต่หกคนขึ้นไป
ง.       ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ค.

29.  ยศตำรวจมีกี่ยศ
ก.      12 ยศ
ข.      13 ยศ
ค.      14 ยศ
ง.       15 ยศ

30.  ชั้นข้าราชการตำรวจมีกี่ชั้น
ก.      2 ชั้น
ข.      3 ชั้น
ค.      4 ชั้น
ง.       5 ชั้น
31.  ข้อใด เขียนถูกต้อง
ก.      จ.ส.ต.(ญ)
ข.      จ.ส.ต.(หญิง)
ค.      จ.ส.ต.หญิง
ง.       ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.

32.  นายแดงจบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต โดยได้รับการคัดเลือกจากการสอบแข่งขันเข้ารับการศึกษาอบรมใน ศ.ฝร.ภ.5 ในหลักสูตรนายร้อยตำรวจสายสอบสวน  หากสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะบรรจุนายแดงเป็นข้าราชการตำรวจ  จะบรรจุชั้นอะไ
ก.      ชั้นพลตำรวจ ได้แก่ พลตำรวจสำรอง
ข.      ชั้นประทวน ได้แก่ พลตำรวจสำรอง
ค.      ชั้นสัญญาบัตร ได้แก่ พลตำรวจสำรอง
ง.       ชั้นสัญญาบัตร ได้แก่ ว่าที่ร้อยตำรวจตรี

33.  การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร. และให้ทำโดย
ก.      ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ข.      ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ค.      ประกาศพระบรมราชโองการ
ง.       ประกาศราชกิจจานุเบกษา

34.  ผู้มีอำนาจ เป็นผู้สั่งแต่งตั้งว่าที่ยศตำรวจชั้นสัญญาบัตรเป็นการชั่วคราว คือ
ก.      ตั้งแต่ว่าที่ยศพันตำรวจตรีขึ้นไป ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง ตั้งแต่ว่าที่ยศร้อยตำรวจตรีขึ้นไป แต่ไม่สูงกว่าว่าที่ยศร้อยตำรวจเอก ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
ข.      ตั้งแต่ว่าที่ยศพันตำรวจเอกขึ้นไป ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง ตั้งแต่ว่าที่ยศร้อยตำรวจตรีขึ้นไป แต่ไม่สูงกว่าว่าที่ยศพันตำรวจโท ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
ค.      ตั้งแต่ว่าที่ยศพลตำรวจตรีขึ้นไป ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง ตั้งแต่ว่าที่ยศร้อยตำรวจตรีขึ้นไป แต่ไม่สูงกว่าว่าที่ยศพันตำรวจเอก ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
ง.       นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง ตั้งแต่ว่าที่ยศร้อยตำรวจตรีขึ้นไป

35.  การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นประทวน  เป็นอำนาจของผู้ใด
ก.      ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ข.      ผู้บังคับบัญชาระดับผู้บัญชาการขึ้นไปซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ค.      ผู้บังคับการขึ้นไป  เฉพาะในเขตพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง
ง.       ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.

36.  ร.ต.อ.อ่อนฯ กระทำความผิดร้ายแรง จำเป็นจะต้องถูกถอดหรือการออกจากยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร ขอทราบว่าต้องกระทำอย่างใด
ก.      การถอดหรือการออกจากยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร ต้องเป็นไปตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ
ข.      การถอดหรือการออกจากยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร ต้องเป็นไปตามระเบียบสำนักงานนายกรัฐมนตรี และให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ
ค.      การถอดหรือการออกจากยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร ต้องเป็นไปตาม กฎ ก.ตร. และให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ
ง.       การถอดหรือการออกจากยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร ต้องเป็นไปตามกฎ ก.ตร. และให้ทำโดยประกาศราชกิจจานุเบกษา

37.  ตามข้อ 36 หากผู้กระทำผิดคือ ด.ต.แข็งแรงฯ  จะต้องดำเนินการอย่างไร
ก.      เป็นอำนาจของ ผบ.ตร. และเป็นไปตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ข.      เป็นอำนาจของ ผบช.ที่ได้รับมอบหมายจาก ผบ.ตร. และเป็นไปตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ค.      เป็นอำนาจของ ผบ.ตร. และเป็นไปตาม กฎ ก.ตร.
ง.       ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.

38.  คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ  มีอักษรย่อว่า
ก.      ก.ตร.
ข.      ก.ต.ร.
ค.      กตร.
ง.       กต.ร.
39.  ผู้ใดเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ และเป็นประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ
ก.      นายกรัฐมนตรี  และ ผบ.ตร. ตามลำดับ
ข.      นายกรัฐมนตรี 
ค.      ผบ.ตร.  และ นายกรัฐมนตรี ตามลำดับ
ง.       ผบ.ตร.

40.  ผู้ใด ไม่ใช่ กรรมการข้าราชการตำรวจ โดยตำแหน่ง
ก.      เลขาธิการ ก.พ.
ข.      เลขาธิการ ก.พ.ร.
ค.      จเรตำรวจ
ง.       ถูกเฉพาะข้อ ข. และ ข้อ ค.

41.  ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ  แบ่งออกกี่ประเภท  มีจำนวนเท่าใด
ก.      ประเภท  คือ ผู้ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ ในตำแหน่งตั้งแต่ผู้บังคับการ หรือเทียบผู้บัญชาการขึ้นไปจำนวนห้าคน  และ ผู้ซึ่งไม่เป็นข้าราชการตำรวจจำนวนหกคน
ข.      ประเภท  คือ ผู้ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ ในตำแหน่งตั้งแต่ผู้บัญชาการ หรือเทียบผู้บัญชาการขึ้นไปจำนวนห้าคน  และ ผู้ซึ่งไม่เป็นข้าราชการตำรวจจำนวนหกคน
ค.      ประเภท  คือ ผู้ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ ในตำแหน่งตั้งแต่ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือเทียบผู้บัญชาการขึ้นไปจำนวนห้าคน  และ ผู้ซึ่งไม่เป็นข้าราชการตำรวจจำนวนหกคน
ง.       ประเภท  คือ ผู้ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ ในตำแหน่งตั้งแต่รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือเทียบผู้บัญชาการขึ้นไปจำนวนห้าคน  และ ผู้ซึ่งไม่เป็นข้าราชการตำรวจจำนวนหกคน

42.  ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ  ประเภทเคยรับราชการเป็นข้าราชการตำรวจจำนวนห้าคน ต้องเป็นผู้ซึ่งพ้นจากความเป็นข้าราชการตำรวจไปแล้ว
ก.      ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
ข.      ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
ค.      เกินหนึ่งปี
ง.       เกินสองปี

43.  ผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในสาขาใด ที่ไม่ใช่คุณสมบัติจะเป็น ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ  ประเภทไม่เป็นข้าราชการตำรวจ
ก.      เศรษฐศาสตร์
ข.      รัฐประศาสนศาสตร์
ค.      อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม
ง.       วิทยาศาสตร์

44.  กรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่งตามมาตรา ๓๐ (๑) และผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก) ได้ร่วมกันสรรหากรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ข)  โดยสรรหาได้ ร.ต.อ.แดงฯ อายุ 64 ปี อดีตข้าราชการตำรวจซึ่งลาออกจากราชการไปประกอบอาชีพทำนามาได้ 12 ปี  ขอทราบว่า การสรรหา ร.ต.อ.แดงฯ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ก.      ชอบ
ข.      ชอบ  ถ้าเป็นมติสองในสาม
ค.      ไม่ชอบ 
ง.       ไม่ชอบ เพราะต้องเป็นข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจตรีขึ้นไป

45.  การประกาศรายชื่อกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิในกฎหมายกำหนดให้ผู้ใดเป็นผู้ประกาศและประกาศในเอกสารใด
ก.      นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ประกาศ  และประกาศในระเบียบ ก.ต.ช.
ข.      นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ประกาศ  และประกาศใน กฎ ก.ตร.
ค.      นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ประกาศ  และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง.       นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ประกาศ  และประกาศในสำนักนายกรัฐมนตรี

46.  ข้อใด ไม่ใช่ อำนาจหน้าที่ของ ก.ตร. ในการออกกฎ ก.ตร.
ก.      ออกระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือมีมติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
ข.      ออกระเบียบให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรายงานเกี่ยวกับการสอบ การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ
ค.      ออกระเบียบให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติการอื่นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
ง.       ออกระเบียบให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรายงานเกี่ยวกับการจ่ายสินบนนำจับ

47.  ข้อใด ไม่ใช่ อำนาจหน้าที่ของ ก.ตร. ในการออกกฎ ก.ตร.
ก.      กำกับดูแล ตรวจสอบ และแนะนำ เพื่อให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติบริหารงานบุคคลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
ข.      รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มค่าครองชีพ สวัสดิการ หรือประโยชน์เกื้อกูลอื่นสำหรับข้าราชการตำรวจให้เหมาะสม
ค.      กำหนดชั้นยศที่ควรบรรจุแต่งตั้งและอัตราเงินเดือนที่ควรได้รับสำหรับวุฒิปริญญาหรือประกาศนียบัตรต่างๆ
ง.       ไม่มีข้อใดถูก

48.  ร.ต.ท.สมชายฯ ได้รับแจ้งจากสำนักงานทะเบียนพล ตร.ว่า ตนเองจะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 ก.ย.2550  จึงได้ตรวจสอบสมุดประวัติแบบ กพ.7 ของตนพบว่า จนท.ผู้บันทึกประวัติได้กรอกข้อมูลคลาดเคลื่อน  โดยความจริงแล้วตนเองเกิดเมื่อวันที่ ก.ย.2501 จะต้องเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 ก.ย.2551 จึงได้ยื่นคำร้องขอแก้ทะเบียนประวัติของตนต่อ ผบช.กำลังพล ตร.  ซึ่งก็ตรวจสอบแล้วพบว่าคลาดเคลื่อนจริง  ผบช.กำลังพล ตร. จึงได้สั่งการให้ จนท.กำลังพลทำการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องตามความเป็นจริง  ขอทราบว่า ผบช.กำลังพล มีอำนาจในการสั่งแก้ไขหรือไม่
ก.      สั่งแก้ไขได้  เพราะเป็นข้อผิดพลาดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่
ข.      สั่งแก้ไขได้  ถ้าได้รับความเห็นชอบจาก ผบ.ตร.หรือผู้รักษาราชการแทน
ค.      สั่งแก้ไขไม่ได้  เพราะเป็นอำนาจของ ก.ต.ช.
ง.       สั่งแก้ไขไม่ได้  เพราะเป็นอำนาจของ ก.ตร.

49.  กฎ ก.ตร. มีผลใช้บังคับเมื่อใด
ก.      เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข.      เมื่อพ้น 10 วันนับแต่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ค.      เมื่อพ้น 15 วันนับแต่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง.       เมื่อพ้น 30 วันนับแต่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

50.  ในกรณีที่ ก.ตร. พิจารณาเห็นว่าการปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้มีมติสั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปฏิบัติการให้ถูกต้องเหมาะสม ถ้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ปฏิบัติการตามมติดังกล่าว ให้ ก.ตร.ดำเนินการอย่างไร
ก.      รายงานต่อ ผบ.ตร.เพื่อพิจารณาและสั่งการแก้ไขภายใน 15 วัน  หาก ผบ.ตร.ไม่แก้ไขให้รายงานต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและสั่งการต่อไป
ข.      รายงานต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและสั่งการต่อไป
ค.      รายงานต่อ ก.ต.ช.เพื่อพิจารณาและสั่งการต่อไป
ง.       รายงานต่อ ก.ต.ช.เพื่อให้นายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและสั่งการต่อไป

51.  เพื่อรักษาความเที่ยงธรรมในการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ให้ ก.ตร. ออกกฎ ก.ตร. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจไว้ให้ชัดเจนแน่นอน กฎ ก.ตร. ดังกล่าวให้มีผลใช้บังคับเมื่อ
ก.      พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข.      พ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ค.      พ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง.       นับแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา

52.  กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ใดสามารถเป็นกรรมการใน ก.ต.ช. ในขณะเดียวกันได้
ก.      นายกรัฐมนตรี
ข.      ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ค.      เลขาธิการ ก.พ.
ง.       ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.

53.  ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ ผู้ใดเป็นผู้วินิจฉัย
ก.      ก.ตร.
ข.      ก.ต.ช.
ค.      นายกรัฐมนตรี
ง.       ถูกทุกข้อ

54.  ข้อใดกล่าวถูกต้อง  ในการเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐(๒) (ก)
ก.      ข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งผู้กำกับการ ขึ้นไปเป็นผู้เลือก
ข.      ข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ ขึ้นไปเป็นผู้เลือก
ค.      ข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่าผู้กำกับการขึ้นไปเป็นผู้เลือก
ง.       ถูกทุกข้อ

55.  กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ข)  มีวิธีการคัดเลือกอย่างไร
ก.      ให้กรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่งตามมาตรา ๓๐ (๑)เป็นผู้เลือก และให้เสนอขอความเห็นชอบจากผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก) .
ข.      ให้กรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่งตามมาตรา ๓๐ (๑) และผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก) เป็นผู้เลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
ค.      ให้ผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก)เป็นผู้เลือก และให้เสนอขอความเห็นชอบจาก กรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่งตามมาตรา ๓๐ (๑).
ง.        ถูกทุกข้อ

56.  กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ กรณีใดเมื่อได้รับการคัดเลือก แล้วต้องเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
ก.      กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก)
ข.      กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ข)
ค.      กรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่งตามมาตรา ๓๐ (๑)
ง.       ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.
57.  การเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก) ผู้ใดมีหน้าที่รับสมัครบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามของการเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ
ก.      นายกรัฐมนตรี
ข.      ประธาน ก.ตร.
ค.      ผบ.ตร.
ง.       ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.

58.  เมื่อได้รายชื่อผู้สมัครตามข้อ 57 แล้ว ให้จัดส่งบัญชีรายชื่อบุคคลดังกล่าวโดยเรียงลำดับตามตัวอักษรไปยังผู้มีสิทธิเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๕ (๑) ก่อนวันเลือกเป็นระยะเวลา
ก.      ไม่น้อยกว่าสิบวัน
ข.      ไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน
ค.      ไม่น้อยกว่ายี่สิบวัน
ง.       ไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่วัน

59.  ในการเลือกกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก) ในกรณีที่มีผู้ได้รับเลือกหลายคนได้คะแนนเท่ากันจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลำดับผู้รับเลือกตามจำนวนที่จะพึงมีได้ การดำเนินการข้อใดถูกต้อง
ก.      ให้ ประธาน ก.ตร.ทำการจับสลากเพื่อให้ได้รับเลือกจนครบจำนวน
ข.      ให้ ประธาน ก.ต.ช.ทำการจับสลากเพื่อให้ได้รับเลือกจนครบจำนวน
ค.      ให้ ที่ประชุม ก.ตร.ทำการจับสลากเพื่อให้ได้รับเลือกจนครบจำนวน
ง.       ให้ ที่ประชุม ก.ตร.ทำการจับสลากเพื่อให้ได้รับเลือกจนครบจำนวน

60.  ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ มีวาระการดำรงตำแหน่งกี่ปี
ก. ปี          ข.ปี           ค. ปี                    ง. ปี

61.  ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ มีวาระการดำรงตำแหน่งกี่วาระ
ก. วาระ      ข. 2 วาระ       ค. 3 วาระ                 ง. 4 วาระ

62.  ข้อใดที่ทำให้ ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง
ก.      ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๓(๓) 
ข.      มีเหตุตามมาตรา ๒๒ (๑) (๒) หรือ (๓)
ค.      สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือเป็นผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะผู้บริหารท้องถิ่น
ง.       ถูกทุกข้อ

63.  การให้ ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือมีการกระทำหรือมีคุณลักษณะไม่เหมาะสมต่อการปฏิบัติหน้าที่กรรมการข้าราชการตำรวจ ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก.      ก.ตร. มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวน ก.ตร.ทั้งหมด
ข.      ก.ตร. มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน ก.ตร.ทั้งหมด
ค.      ก.ต.ช. มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวน ก.ต.ช.ทั้งหมด
ง.       ก.ต.ช. มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน ก.ต.ช.ทั้งหมด

64.  ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับเลือกในกรณีเป็นผู้ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ ในตำแหน่งตั้งแต่ผู้บัญชาการ หรือเทียบผู้บัญชาการขึ้นไปจำนวนห้าคน แต่ต้องเป็นผู้ซึ่งพ้นจากความเป็นข้าราชการตำรวจไปแล้วเกินหนึ่งปี พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ จะดำเนินการอย่างไรถึงจะถูกต้อง
ก.      ให้มีการคัดเลือกกันใหม่ และให้อยู่ในตำแหน่งเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ข.      ให้ ก.ตร.ที่เหลืออยู่ลงมติไม่น้อยกว่าสองในสามคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมและมีคุณสมบัติครบถ้วนดำรงตำแหน่งแทนและให้อยู่ในตำแหน่งเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ค.      ให้ผู้ซึ่งมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อในประเภทผู้ซึ่งไม่ได้รับเลือก ซึ่งอยู่ในอันดับถัดจากผู้ได้รับเลือกลงมาตามลำดับตามจำนวนที่ ก.ตร. เห็นสมควร ในอันดับแรกเป็นแทนและให้อยู่ในตำแหน่งเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ง.       ปล่อยตำแหน่งให้ว่างลง กรณีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งเหลือไม่ถึงหนึ่งปี

65.  ในกรณีที่ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ   ตามมาตรา ๓๐ (๒) (ข) พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ  ควรดำเนินการอย่างไรถึงจะถูกต้อง
ก.      ให้ ก.ตร.โดยตำแหน่ง เป็นผู้เลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร. แล้วเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี
ข.      ให้ ก.ตร.โดยตำแหน่ง และผู้ได้รับเลือกเป็น ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก) เป็นผู้เลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร. แล้วเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี
ค.       ให้ ผู้ได้รับเลือกเป็น ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก) เป็นผู้เลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร. แล้วเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี
ง.       ให้ ก.ต.ช. เป็นผู้เลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร. แล้วเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี
66.  ตามข้อ 65  คณะรัฐมนตรี มีหน้าที่
ก. รับทราบ     ข. รับไว้เพื่อพิจารณา              ค. อนุมัติ         ง. เห็นชอบ

67.  เมื่อผ่านมติคณะรัฐมนตรีตามข้อ 66 จะดำเนินการอย่างไร
ก.      ให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
ข.      ให้คณะรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
ค.      ให้ ก.ต.ช.นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
ง.       คณะรัฐมนตรีประกาศรายชื่อถือเป็นอันสมบูรณ์

68.  ข้อใด สามารถเพิ่มจำนวน ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ สาขาผู้เชี่ยวชาญ ได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย
ก.      ก.ต.ช. มีมติเห็นชอบ
ข.      ก.ตร.มีมติเห็นชอบ
ค.      นายกรัฐมนตรีเห็นชอบ
ง.       เมื่อมีรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเพิ่มขึ้น

69.  การดำรงตำแหน่งของ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิที่ดำรงตำแหน่งแทน หากมีกำหนดเวลาเท่าใด  ไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๓๘
ก. ไม่ถึงหนึ่งปี            ข. ไม่ถึงสองปี            ค. ไม่ถึงสามปี            ง. ไม่ถึงสี่ปี

70.  ในกรณีที่ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระ  กฎหมายให้ดำเนินการจัดให้มีการเลือกใหม่ภายในระยะเวลาเท่าใด
ก. สามสิบวันก่อนวันครบวาระ                       ข. หกสิบวันก่อนวันครบวาระ
ค. เก้าสิบวันก่อนวันครบวาระ                       ง. หนึ่งร้อยยี่สิบวันก่อนวันครบวาระ


แนวข้อสอบ พ...ตำรวจฯ
1.กรรมการข้าราชการตำรวจจะเป็นกรรมการใน ก...ในขณะเดียวกันไม้ได้เว้นแต่.....
.นายกรัฐมนตรี กับ ปลัดกระทรวงมหาดไทย
.นายกรัฐมนตรี กับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
.นายกรัฐมนตรี กับ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
.ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กับ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
                               มาตรา ๓๔  กรรมการข้าราชการตำรวจจะเป็นกรรมการใน ก... ในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่นายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

2.ตาม พ...ตำรวจแห่งชาติ 2547 ใครเป็นผู้รักษาการตาม พ...นี้
.นายกรัฐมนตรี
.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
.ปลัดกระทรวงมหาดไทย
.ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

                        มาตรา ๕  ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

          กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

3.ผู้ที่ได้รับว่าที่ยศใดให้ถือเสมือนว่า.....
.ถือเสมือนยังไม่ได้ยศนั้น
.ถือเสมือนมียศนั้น
.ถือเสมือนยศเดิม
.ตามมติ ก.ตร.
                   ว่าที่ยศใดให้ถือเสมือนมียศนั้น ถ้าผู้ซึ่งมียศตำรวจเป็นหญิง ให้เติมคำว่า หญิง
ท้ายยศตำรวจนั้นด้วย

4.กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี และดำรงตำแหน่งได้กี่วาระ
. 4ปี/ได้เพียงวาระเดียว
.4ปี/สองวาระติดกันได้
.6ปี/ได้เพียงวาระเดียว
.4ปี/ทุกวาระติดกันได้
          มาตรา ๓๘  กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
คำบรรยายภาพแบบวงรี: ต่างกับ ก.ต.ช. ดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีสองวาระ
5.ตำแหน่งพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ เทียบได้กับตำแหน่งใด
.ผู้บังคับการ
.รองผู้บังคับการ
.ผู้กำกับการ
.รองผู้กำกับการ
มาตรา 44 (9) ตำแหน่งรองผู้กำกับการ และพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ

***หมายเหตุ***ขอร้องว่าอย่าเปิดหนังสือดู พยายามซื่อสัตย์ต่อตัวเองให้ตอบคำถามตามความรู้ความจำที่เคยได้อ่านมาก่อน ตอบเสร็จคอยเปิดหนังสือดูเพื่อกลับไปทบทวน


1. ใครเป็นผู้เลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ของ ก.ตร. ในส่วนของผู้ที่เคยเป็นตำรวจมาแล้วระดับ ผู้บัญชาการขึ้นไป
. กรรมการข้าราชการตำรวจโดย ตำแหน่ง 30 (1)
. วุฒิสภา

. นายกรัฐมนตรี

. ผู้กำกับการ หรือเที่ยบเท่าขึ้นไป
         () กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ () () ให้ข้าราชการตำรวจ ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้กำกับการ พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้เลือก

2. กรรมการข้าราชการตำรวจ ตามข้อ 1 มีจำนวนกี่คน
. 4 คน

. 5 คน

. 6 คน
. 7 คน
ผู้ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ ในตำแหน่งตั้งแต่ผู้บัญชาการ หรือเทียบผู้บัญชาการขึ้นไปจำนวนห้าคน แต่ต้องเป็นผู้ซึ่งพ้นจากความเป็นข้าราชการตำรวจไปแล้วเกินหนึ่งปี

3. ใครเป็นผู้เลือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ของ ก.ตร. ในส่วนของผู้ไม่เป็นข้าราชการตำรวจ มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ
. กรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่ง
. กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ ในส่วนผู้เคยเป็นเคยเป็นตำรวจ ระดับผู้บัญชาการขึ้นไป
. วุฒิสภา
. ถูกทั้ง ก และ ข
. กรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่ง และ
. กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ ในส่วนผู้เคยเป็นเคยเป็นตำรวจ ระดับผู้

4. ผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ตร. ผู้ซึ่งเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ มีจำนวนที่ท่าน
. 4 คน
. 5 คน

. 6 คน

. 7 คน
ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่เป็นข้าราชการตำรวจจำนวนหกคน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม หรือสาขาอื่นตามที่ ก.ตร. กำหนด สาขาละไม่เกินหนึ่งคน

5 พรบ. ตำรวจแห่งชาติ ฉบับล่าสุดประกาศใช้เมื่อ

. 13 มกราคม 2547

. 14 มกราคม 2547
. 15 มกราคม 2547
. 16 มกราคม 2547
ภูมิพลอดุยลยเดช ..ให้ไว้ วันที่ ๑๓ มกราคม .. ๒๕๔๗
          มาตรา ๘๒  โทษทางวินัยมี สถาน ดังต่อไปนี้
                   () ภาคทัณฑ์  () ทัณฑกรรม
                   () กักยาม     () กักขัง
                   () ตัดเงินเดือน() ปลดออก
                   () ไล่ออก
 
 

6. โทษวินัย มีกี่สถาน
คำบรรยายภาพแบบวงรี: ไม่มีให้ออก โทษสูงสุดไล่ออก. 4 สถาน
. 5 สถาน
. 6 สถาน
. 7 สถาน

7. การรับเข้ารับราชการตำรวจ มีกี่วิธี
คำบรรยายภาพแบบวงรี: มาตรา ๕๐  การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจ ชั้นประทวน และชั้นสัญญาบัตร ให้บรรจุจากบุคคลผู้ได้รับคัดเลือกหรือสอบแข่งขันได้

. 2 วิธี
. 3 วิธี
. 4 วิธี
. 5 วิธี

8. พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ คือ

.สารวัตร

.รองผู้กำกับ

. ผู้กำกับ

. รองผู้บังคับการ
(๑๐) สารวัตร และพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ

คำบรรยายภาพแบบวงรี: การรักษาราชการแทน ให้รอง รักษาราชการแทน ไม่มีรอง  ผู้ช่วยรักษาราชการแทน โดยเรียงลำดับผู้อาวุโส9. ผู้ใดมีอำนาจ ในเรื่องการักษาราชการแทน ตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
. นายกรัฐมนตรี
. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

. ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยศ พลตำรวจโท

. ผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

10. วันตำรวจไทย คือ วันใดของทุกปี
. วันที่ 13 มกราคม
. วันที่ 30 มกราคม
. วันที่ 13 ตุลาคม
. วันที่ 30 ตุลาคม

วันสถาปนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 17 ………..2540


พรบ.ตำรวจ 2547 มีอะไรบ้างที่ประกาศเป็นพระราชโองการ

                   มาตรา ๒๖  การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ .ตร. และให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ
                   การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นสัญญาบัตรเป็นกรณีพิเศษ อาจกระทำได้โดยประกาศ
พระบรมราชโองการ
                   ในระหว่างที่ยังไม่มีประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร
จะแต่งตั้งว่าที่ยศตำรวจชั้นสัญญาบัตรเป็นการชั่วคราวก็ได้ โดยให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้ เป็นผู้สั่ง
แต่งตั้ง
                   () ตั้งแต่ว่าที่ยศพลตำรวจตรีขึ้นไป ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
                   () ตั้งแต่ว่าที่ยศร้อยตำรวจตรีขึ้นไป แต่ไม่สูงกว่าว่าที่ยศพันตำรวจเอก
ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
                   มาตรา ๒๘  การถอดหรือการออกจากยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร ให้เป็นไปตาม
ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ
                   มาตรา ๑๐๔  ในการออกจากราชการของข้าราชการตำรวจตำแหน่งตั้งแต่ผู้บังคับการ พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ หรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป หากเป็นกรณีการออกจากราชการตามมาตรา ๙๗ ให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ

                        การพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือตำแหน่งเทียบเท่า ให้นำความกราบ

บังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่กรณีที่พ้นจากตำแหน่งเพราะ
ความตาย

มีอะไรบ้างใน พรบ.ตำรวจ ที่ประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา

ลักษณะ ๑

บททั่วไป

                        มาตรา ๖  สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ใน

บังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
                   ()   รักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ
                   ()   ดูแลควบคุมและกำกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจซึ่งปฏิบัติการตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
                   ()   ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา
                   ()   รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของประชาชนและความมั่นคงของ
ราชอาณาจักร
                   ()   ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของข้าราชการ
ตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
                   ()   ช่วยเหลือการพัฒนาประเทศตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
                   ()   ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้การปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ตาม () () () () หรือ () เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                   ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดความผิดทางอาญาขึ้นสำหรับการกระทำใดเป็นการ
เฉพาะ และตกอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติตาม ()
() หรือ () จะตราพระราชกฤษฎีกาโอนอำนาจหน้าที่ตาม () () หรือ () เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดทางอาญาดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นใดก็ได้ ในกรณีเช่นนั้น ให้ข้าราชการตำรวจและสำนักงานตำรวจแห่งชาติพ้นจากอำนาจหน้าที่ดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน และให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ พนักงานสอบสวน หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
มาตรา   ข้าราชการตำรวจอาจให้แบ่งเป็นข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศด้วย
ก็ได้ โดยให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาข้าราชการตำรวจตำแหน่งใดหรือปฏิบัติหน้าที่ใด จะเป็นข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้กำหนดวิธีการบรรจุการแต่งตั้ง การดำเนินการทางวินัย การบังคับบัญชา การโยกย้ายระหว่างข้าราชการตำรวจประเภทมียศและข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศ รวมตลอดทั้งการปรับยศ และปรับเงินเดือนเมื่อมีการโยกย้ายดังกล่าวและการอื่นตามที่จำเป็นไว้ด้วย
          พระราชกฤษฎีกาตามวรรคสอง ไม่มีผลกระทบฐานะของข้าราชการตำรวจที่มียศอยู่แล้วในวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
ลักษณะ
การจัดระเบียบราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

                        มาตรา ๑๐  สำนักงานตำรวจแห่งชาติแบ่งส่วนราชการดังต่อไปนี้

                   () สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
                   () กองบัญชาการ
          การแบ่งส่วนราชการตาม () เป็นกองบัญชาการหรือการจัดตั้งกองบัญชาการ ตาม () ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และการแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่น ให้ออกเป็นกฎกระทรวง และให้กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ในพระราชกฤษฎีกา หรือกฎกระทรวงนั้น แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๘  นอกจากอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๑๖ ให้ ... มีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้ด้วย
                   () ออกระเบียบ ประกาศ หรือมีมติในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารราชการตำรวจ
และวิธีปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ ให้เป็นไปตามแบบแผนและนโยบายที่ ... กำหนด
                   () เสนอแนะให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา วรรคสอง
                               () พิจารณาดำเนินการคัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ
                               () กำหนดกระบวนการและขั้นตอนในการกระจายอำนาจระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับตำรวจภูธรจังหวัด และราชการส่วนท้องถิ่น ในกรณีที่ ก... เห็นว่ามีความจำเป็นและเหมาะสม
                   () แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่ ... มอบหมาย
                   () ตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบาย การบริหารราชการตำรวจให้เป็นไปตาม
พระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น ในการนี้ ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจของกรุงเทพมหานคร จังหวัดและสถานีตำรวจต่าง เพื่อตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในเขตพื้นที่ดังกล่าว แล้วรายงาน ... เพื่อพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณีต่อไป
                   องค์ประกอบ การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ... กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                   () ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายหรือตามที่มีกฎหมายกำหนด
ไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ...
                   ระเบียบหรือประกาศตาม () เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
(๑๓) ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจสำรอง ให้ได้รับเงินเดือนระดับ .
                   ให้ข้าราชการตำรวจตามวรรคหนึ่งได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของระดับนั้น ในกรณีที่
จะให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของระดับ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ .ตร.
                   ข้าราชการตำรวจตาม () ถึง (๑๓) อาจได้รับเงินเดือนในระดับสูงขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งก็ได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการได้รับเงินเดือนในระดับสูงขึ้นดังกล่าวและการรับเงินประจำตำแหน่งไว้ด้วย
 พรบ.ตำรวจ 10 ข้อ เชิญนะครับ
1.การพ้นจากตำแหน่งข้าราชการผู้ทรงคุณวุฒิ ของ ก.ต.ช. ข้อใดต่อไปนี้ถูก
ก. อายุครบ 65 ปี
ข. ก.ต.ช. มีมติด้วยคะแนนกึ่งหนึ่งให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องด้วยความประพฤติเสื่อมเสีย
ค. ไม่มาประชุมตามวาระของ ก.ต.ช. ครึ่งหนึ่งของวาระทั้งหมด
ง. ไม่มีข้อถูก
มาตรา ๒๒  นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๒๑(กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้

                   ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับสรรหาใหม่เข้ารับหน้าที่

) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
              () ตาย
              () มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
              () ลาออก
              () ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๐
              () ... มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือมีการกระทำ หรือมีคุณลักษณะไม่เหมาะสมต่อการปฏิบัติหน้าที่กรรมการ
              ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการแทน เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน ในกรณีนี้จะไม่ดำเนินการให้มีการสรรหาก็ได้
              ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน

2. องค์ประกอบการแต่งตั้งตำรวจชั้นสัญญาบัตร
ก. ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ของ ก.ตร.
ข. ให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ
ค. จะต้องดำรงตำแหน่ง ว่าที่ ก่อนจะได้รับการพิจารณา
ง. ถูก ข้อ ก และ ข.
มาตรา ๒๖  การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ .ตร. และให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ
              การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นสัญญาบัตรเป็นกรณีพิเศษ อาจกระทำได้โดยประกาศ
พระบรมราชโองการ
              ในระหว่างที่ยังไม่มีประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร
จะแต่งตั้งว่าที่ยศตำรวจชั้นสัญญาบัตรเป็นการชั่วคราวก็ได้ โดยให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้ เป็นผู้สั่ง
แต่งตั้ง
              () ตั้งแต่ว่าที่ยศพลตำรวจตรีขึ้นไป ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
              () ตั้งแต่ว่าที่ยศร้อยตำรวจตรีขึ้นไป แต่ไม่สูงกว่าว่าที่ยศพันตำรวจเอก
ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง


3. การแต่งตั้ง ว่าที่ยศตำรวจข้อใดผิด
ก. นายกสั่งแต่งตั้งยศ ว่าที่พลตำรวจตรี
ข. นายกสั่งแต่งตั้งยศ ว่าที่พันตำรวจเอกพิเศษ
ค. ผบ.ตร. สั่งแต่งตั้ง ว่าที่ร้อยตำรวจตรี
ง. ผบ.ตร. สั่งแต่งตั้ง ว่าที่พันตำรวจตรี
เฉลยดูข้อข้างบน

4. ใน พรบ. ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 4 คำว่า ประธานกรรมการหมายความว่า
ก. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ข. ประธานกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
ค. ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ
ง. ทั้ง ข. และ ค. ถูก
มาตรา ๔  ในพระราชบัญญัตินี้
ประธานกรรมการ หมายความว่า ประธานกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ

5. การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นประทวน เป็นไปตามหลักเกณฑ์ใด
ก. ให้นายกฯ สามารถแต่งตั้งยศตำรวจชั้นประทวน
ข. ให้ ผบ. ตร. สั่งแต่งตั้ง และต้องประกาศเป็นพระบรมราชโองการ
ค. ผู้กำกับการขึ้นไป ซึ่งได้รับมอบหมายจาก ผบ.ตร. และ ผบ.ตร. สั่งแต่งตั้งได้
ง. ผบ.ตร. หรือ ผู้บัญชาการขึ้นไป ซึ่งรับมอบหมายจาก ผบ.ตร. เป็นผู้สั่งแต่งตั้ง

              มาตรา ๒๗  การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นประทวน ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้บังคับบัญชาระดับผู้บัญชาการขึ้นไปซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ .ตร.
              การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นประทวนเป็นกรณีพิเศษ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
เป็นผู้สั่งแต่งตั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ .ตร.


6.การแต่งตั้งยศสัญญาบัตรในกรณีพิเศษ จะต้อง
ก. ประกาศเป็นพระบรมราชโองการ
ข. ประกาศในราชกิจานุเบกษา
ค. ให้นายกรัฐมนตรี เป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
ง. ให้ ผบ.ตร. แต่งตั้ง ชั้นยศ ร.ต.ต. ไม่เกิน พ.ต.อ.

              การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นสัญญาบัตรเป็นกรณีพิเศษ อาจกระทำได้โดยประกาศ
พระบรมราชโองการ

7. การแต่งตั้งยศประทวนเป็นกรณีพิเศษ
ก. นายกฯ เป็นผู้สั่งแต่งตั้งได้
ข. ผบ.ตร. เป็นผู้สั่งแต่งตั้งได้
ค..ผบ.ตร. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายตั้งแต่ ผู้บัญชาการขึ้นไป มีอำนาจสั่งแต่งตั้ง
ง. ต้องประกาศเป็นพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
              การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นประทวนเป็นกรณีพิเศษ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
เป็นผู้สั่งแต่งตั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ .ตร.


8.ข้อใดถูก
ก. ก.ตร. หมายความว่า คณะกรรมการข้าราชการตำรวจแห่งชาติ
ข ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการผู้หนึ่งใน ก.ตร.
ค. ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นกรรมการ ผู้หนึ่ง ใน ก.ตร.
ง. เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการ ผู้หนึ่ง ใน ก.ตร.
            ก.ตร. หมายความว่า คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ไม่มีคำว่าแห่งชาติ
มาตรา  ๓๐  ให้มีคณะกรรมการข้าราชการตำรวจคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า .ตร.”
ประกอบด้วย
              () นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ เลขาธิการ ..
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่ง
      

9.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ก.ตร.) ผู้ซึ่งเคยเป็นตำรวจระดับ ผู้บัญชาการขึ้นไป จะต้องพ้นจากการเป็นข้าราชการตำรวจ ระยะเวลาเท่าใด
ก. 1 ปี ขึ้นไป
ข. 3 ปี ขึ้นไป
ค. 5 ปี ขึ้นไป
ง. 10 ปีขึ้นไป แต่อายุไม่เกิน 65 ปี

มาตรา  ๓๐
(ข)บุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการตำรวจ หากได้พ้นจากความเป็นข้าราชการตำรวจไปแล้วเกินสิบปีและมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปี อาจได้รับการสรรหาเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม () ()(ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่เป็นข้าราชการตำรวจจำนวนหกคน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญ) ได้ แต่ต้องมีจำนวนไม่เกินหนึ่งคน

10. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ของ ก.ต.ช. จะต้องมีความชี่ยวชาญทางด้านใด
ก. รัฐประศาสนศาสตร์
ข. เศรษฐศาสตร์
ค. การวางแผนหรือการบริหารจัดการ
ง. การบริหารงานยุติธรรม

 ม. 19 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม ม. 17 (2) ต้องมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในด้าน กฏหมาย การงบฯ การพัฒนาองค์กร การวางแผน หรือการบริหารและจัดการ


1 ความคิดเห็น:

  1. สอบนายร้อยตำรวจ วุฒิ ป.โท 3 กลุ่ม 30 อัตรา 22 มิ.ย.-2 ก.ค. 58
    http://www.topthaitest.com/read.php?tid=81123

    ตอบลบ